สรุปการเรียนรู้ week 7
-ได้เรียนรู้เรื่องการออกแบบวงจร Sequential logic เนื่องจาก Sequential
logic เป็นวงจรในรูปแบบของการเก็บค่า เก็บ stage การทำงาน
ดังนั้น เราควรจะกำหนดคุณลักษณะของการทำงานที่ชัดเจนก่อน
โดยการแปลงคุณลักษณะดังที่กล่าวถึงให้อยู่ในรูป State Diagram ดังรูป
โดยวงกลมคือ State ภายในวงกลมส่วนบนจะเป็นการระบุชื่อใช้อธิบาย State
นั้นๆ
และด้านล่างจะเป็นสถานะของ Output ที่เราต้องการให้เกิดขึ้น
ส่วนลูกศรคือการบ่งบอกว่า ใน 1 ครั้งของการเปลี่ยน State หาก Input
เป็นอะไร
แล้ว State จะถูกเปลี่ยนไปที่ State ใด ซึ่งจะบ่งบอก Input โดยใช้ตัวเลขที่เห็นระหว่างลูกศร
ซึ่งแผนภาพ State Diagram นั้นมี 2รูปแบบ คือรูปแบบนี้ เรียกว่า Moore และอีกรูปแบบคือ
Mealy จะเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อย นั่นคือในวงกลมจะอธิบาย State และบนลูกศรจะบ่งบอกถึงสถานะของ
Output แทน
หลังจากวาด State Diagram เสร็จแล้วให้เราใส่ตัวเลขฐาน 2 แทนใน State
แล้วนำไปเขียนตาราง
State Table
โดยในตาราง จะใส่ State ปกติ และ Input ลงไปก่อนตามรูปแบบการเขียนตารางทั่วไป
และจากนั้นจึงนำส่วนแรกมาพิจารณาเพื่อหา State ถัดไป (next
state) โดยจะดูจาก State Diagram ว่าลูกศรมี Input
logic เป็นอะไร จะทำให้ State นั้นๆ เปลี่ยนไปที่ State ใดบ้าง เมื่อเสร็จแล้วจึงดู
Output ว่า State ใดมี Output เป็นอย่างไร โดยอ้างอิงจาก Current State
เมื่อเสร็จแล้วจึงเริ่ม ใส่ logic ของ Flip-Flop
ลงไปในในตาราง
โดยเทียบตารางของ Flip-Flopเกี่ยวกับ Current State และ Next
State ว่าการเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะต้องให้ Logic ที่ขาของ D
(ในกรณีที่ใช้D-type
Flip-flop) และขาของ J K (ในกรณีที่ใช้ JK Flip-flop) เป็นอย่างไรบ้าง
ดังสไลด์ ด้านล่าง
หลังจากนั้นจึงสร้าง Boolean function สำหรับ Input
ที่ขา
D , JK โดยการนำ Current State + Input เป็นตัวตั้ง
และให้ Output เป็นตาราง D-type , JK โดยเมื่อได้ Boolean function แล้วก็นำมาเขียนวงจรตามสมการที่ได้
และต่อจริงก็เสร็จ ดังรูป
ปัญหา/สิ่งที่ไม่เข้าใจ
-พอเริ่มทำอะไรที่มันเยอะขึ้นแล้วรูปสึกว่าสายไฟไม่ค่อยจะพอ
ทำให้เสียเวลาในการยืมของจากเพื่อน และเวลาในการพยายามยุบอยู่บ้าง
แต่ก็ยังสามารถต่อออกมาได้
****ความประทับใจ****
-ผมเริ่มรู้สึกชอบวิชานี้มากขึ้นเนื่องจากการทำงานต่างๆของวงจรที่ได้รู้เจ๋งและน่าค้นหามากขึ้น
มันดูสามารถต่อยอดและทำอะไรได้หลายอย่างดี
ทำให้ตอนนี้รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เรียนวิชานี้มากกว่าวิชาอื่นๆ
No comments:
Post a Comment